
เปิดกลไกการทำงานของรถคลื่นเสียงสลายการชุมนุม ปล่อยคลื่นเสียงได้ไกล 3 กม. เครื่องมือสลายการชุมมุนมีหลากหลายประเภท ตั้งแต่แก็สน้ำตา รถฉีดน้ำแรงดันสูง รวมไปถึงเครื่องส่งคลื่นความถี่สูง หรือ เครื่องทำหูดับ
เครื่องส่งคลื่นความถี่สูง (LRAD) หรือ Long Range Acoustic Device โดยเครื่องมือดังกล่าวถือกำเนิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายขับเรือเล็กขนระเบิดพุ่งเข้าชนเรือรบ USS Cole เมื่อปี 2543 ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิต 17 ราย ทางรัฐบาลอเมริกาจึงพัฒนาอุปกรณ์โจมตีลักษณะต่างๆขึ้น จนเกิดเป็นคลื่นส่งความถี่สูงในเวลาต่อมา
เหตุการณ์ระเบิดเรือรบ USS Cole
แต่เดิมทีเครื่องส่งคลื่นเสียงจะใช้ติดตั้งในเรือเดินสินค้าและ เรือบรรทุกน้ำมันเพื่อใช้เตือนเรือเล็กไม่ให้เข้ามาใกล้ ต่อมาเครื่อง LRAD นั้นถูกใช้ในการสลายการชุมนุมทั่วยุโรป และสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีการนำเครื่อง LRAD มาใช้ในสงครามอิรักอีกด้วย

โดยเครื่อง LRAD สามารถส่งคลื่นเสียงความถี่ 120-140 เดซิเบล ซึ่งเป็นอันตรายต่อหูของมนุษย์และยังสามารถส่งได้ไกลถึง 3 กิโลเมตร แถมยังสามารถกำหนดทิศทางของเสียงได้อีกด้วย
เครื่องส่งความถี่สูงหรือเรียกอีกชื่อว่า “เครื่องทำหูดับ” นั้นจะทำการส่งคลื่นเสียงเป็นลักษณะวงรี
การใช้จานส่งคลื่นเสียงความถี่ 2.5 กิโลเฮิร์ตซ์ ด้วยเชิงมุม 30 องศาสามารถทำให้เกิดเสียงดังระดับ 146 เดซิเบล ซึ่งจะส่งผลให้
– ผู้ที่อยู่ในระยะ 1 เมตรสามารถสูญเสียการได้ยิน “อย่างถาวร” เนื่องจากแก้วหูถูกทำลาย
– สำหรับระยะ 300 เมตร ระดับเสียงจะดังประมาณ 90 เดซิเบล ลักษณะของเสียงจะคล้ายกับเสียงของเครื่องตรวจจับควันไฟ แต่หวีดแหลมและดังกว่ามากๆ โดยอุปกรณ์หลักในการสร้างคลื่นชนิดนี้คือ Piezoceramic Transducers ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟฟ้าให้กลายเป็นคลื่นเสียง
ซึ่งมีความดังมากกว่าเสียงเครื่องเจาะซะอีก
เครื่องส่งความถี่สูงถูกแบ่งเป็น 5 ระดับหลัก แต่ที่นิยมใช้ในการสลายม็อบนั่นก็คือระดับ LRAD500 = 149 เดซิเบล และ เครื่องสลายม็อบ LRAD1000 = 153 เดซิเบล ซึ่งมีคลื่นเสียงความถี่เกือบเทียบเท่ากับเสียงปล่อยจรวดจากฐานยิงที่มีความดังอยู่ที่ 165 เดซิเบล
4 วิธีลดเสี่ยงจากเสียงเครื่องสลายม็อบ(LRAD) “วิธีป้องกัน” สามารถปฏิบัติได้โดย
1. ใช้ Ear-plugs หรือที่อุดหู ควรเลือกชนิดที่ป้องกันเสียงได้สูงสุด เช่น Ear-Plugs สำหรับงานช่าง หรือ สำหรับซ้อมยิงปืน
2. ถ้าไม่มี Ear-Plugs ควรประยุกต์สร้างอุปกรณ์อุดหูด้วยวัสดุที่ช่วยลดระดับเสียง เช่น กระดาษทิชชู หรือ ก้นบุหรี่ชุบน้ำให้หมาดหรือ เหลาจุกคอร์กให้มีขนาดที่เหมาะสม แล้วใช้แทน Ear-Plugs
3. ตัดเล็บนิ้วมือให้สั้น โดยเฉพาะนิ้วก้อย เพราะถ้าไม่มี Ear-Plugs หรืออุปกรณ์ใดๆ ก็ให้ใช้นิ้วก้อยอุดช่องหูให้แน่นที่สุด ผิวหนังของมนุษย์สามารถดูดซับให้คลื่นเสียงอ่อนกำลังลง
4. ควรเตรียมหน้ากากสำหรับ “สะท้อนแนวคลื่น” ด้วยการใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ ตัดให้มีขนาดความยาวพอที่จะพันรอบศีรษะได้ เจาะรูรูปสามเหลี่ยม…สำหรับให้จมูกโผล่ออกมา เพื่อหายใจ เจาะรูตำแหน่งดวงตา เพื่อให้สามารถมองเห็น
ขอขอบคุณที่มา iandme2012.wordpress.com/
